หน้าแรก

 

กราบฝ่าพระบาท ส่งเสด็จสู่สวรรคาลัย
น้อมรำลึกถึงพระมหากรุณาธิคุณและร่วมถวายความอาลัยแด่
พระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดช
ด้วยเกล้าด้วยกระหม่อมขอเดชะ ข้าพุทธเจ้า คณะศิษย์วัดป่าอนาลโย

ประวัติความเป็นมา

วัดป่าอนาลโยถือว่าเป็นวัดไทยสายธรรมยุตติกนิกาย ที่ที่ชื่อว่าเก่าแก่ของประเทศเยอรมัน โดยการบุกเบิกโดยท่าน พระครูวิศิษฏ์ภาวนาวิธาน (ชัชวาลย์ สุภัทโท) โดยเริ่มตั้งแต่ ปี พ.ศ. ๒๕๓๒ ท่านได้เดินทางมาประเทศเยอรมันเพื่อเยี่ยมโยมพี่สาวท่านที่เมือง Hiltersdorf เขตเมือง Nürnberg บ้านที่อยู่เป็นเขตธรรมชาติ มีป่า ทุ่งนา สวยงาม เป็นที่ประทับใจ…มาครั้งนี้พบคนไทยไม่มาก อยู่ได้ ๒๐ วันก็กลับไปจำพรรษา ที่วัดถ้ำกลองเพลจ.อุดรธานี ปี ๒๕๓๔ ท่านได้จำพรรษา ที่ วัดผาธรรมนิมิต อ.เมือง จ.พะเยา ออกพรรษาแล้ว ได้รับนิมนต์มาที่ นครเบอร์ลิน ประเทศสหพันธ์สาธารณรัฐเยอรมนี ในเวลานั้นยังไม่มีสมาคมใดที่จะคิดก่อตั้งวัด เริ่มมีคณะพระภิกษุผ่านมาเยือนหลายคณะ จึงมีคหบดีคือ คุณโยมศศิธร นครศรี ถวายที่พักคือบ้านหนึ่งหลัง ราวเดือนธันวาคม พ.ศ.๒๕๓๔ ทดลองอยู่ ๕ เดือน โดยไม่คิดค่าใช้จ่ายใดๆ การขอวีซ่าสมัยนั้นยากมาก เพราะทางการเยอรมันกับทางผู้นิมนต์ยังไม่มีความรู้ความชำนาญ เรื่องการขอต่อวีซ่า ปี ๒๕๓๕ ที่นครฮัมบวร์ก Beisestr.23 Hamburg ได้รับความเมตตาจากพระพรหมมุนี ( วิชมัย ปุญญาราโม ) วัดบวรนิเวศวิหารราชวรวิหาร ให้ไปฉลองศรัทธา ชาวเมือง ดรางซเต็คท์ เรื่อง การสร้างวัดป่าพรหมมุนี แต่ไม่สามารถตกลงกันได้จึงย้ายมาจำพรรษาที่สมาคมสังฆะ(Sangha ) ของชาว เยอรมัน ที่นครฮัมบวร์ก โดยมีพระร่วมจำพรรษาอีก ๒ รูปคือ พระสมชาย กนฺตจาโร และพระแสงจันทร์ โกวิทฺสาโร มีสมาคมพุทธไทยฮัมบวร์ก ให้ความสนับสนุน ออกพรรษาแล้วท่านได้ไปเยี่ยมวัดต่างๆ ในสายหลวงพ่อชา สุภทฺโท ที่ประเทศสหราชอาณาจักรอังกฤษ ปี ๒๕๓๖ ท่านได้จำพรรษา ที่ เมือง ดอร์ทมูนด์ บ้านสวน Dortmund Kley จากอังกฤษก่อนกลับเมืองไทย แวะเยี่ยมชาวเมืองดอร์ทมูนด์ที่สนใจการสร้างวัด จึงเริ่มตั้งสมาคมพุทธในแคว้นนอร์ทไรน์เวสฟาเล่นตั้งแต่บัดนั้นเป็นต้นมา โดยใช้ชื่อ Buddhistischer Verein NRW e.V. เลขทะเบียนสมาคมที่ VR.4416 เมืองดอร์ทมูนด์ จำพรรษา ๓ เดือนในบ้านสวนก็มีปัญหาเรื่องการต่อระยะยาววีซ่าตามเดิม ท่านจึงต้องกลับประเทศไทยปี ๒๕๓๗ ท่านได้จำพรรษาที่ เมือง คาร์สต จากเมือง ดอร์ทมูนด์ ขัดข้องเรื่องสถานที่จำพรรษาและเรื่องการขอต่อวีซ่า จึงย้ายมาจำที่เมืองคารส์ต Karrst โดยจำพรรษาในรถ Wohnwagen (รถแคมป์ปิ้ง)บริเวณโดยรอบเป็นทุ่งนา ปี ๒๕๓๘ ท่านจำพรรษา  ที่ วัดรัตนวนาราม จ.พะเยา ครบ ๒ ปีต้องเลือกประธานใหม่ ย้ายสมาคมฯจากเมือง ดอร์ทมูนด์ ไปยังเมือง มึนชิงกลัด-บาค Mönchengladbach โดยประธานใหม่ ยิ่งไม่มีความรู้ เรื่องการขอวีซ่า ในพรรษานี้ท่านเลยไม่ได้รับนิมนต์มาเยอรมัน ออกพรรษาได้รับนิมนต์ชาวบ้าน ห้วยไคร้ อ.จุน จ.พะเยา เรื่อง การสร้างวัดที่นั่น ปี ๒๕๓๙ ท่านจำพรรษาที่ วัดดอยห้วยไคร้ อ.จุน จ.พะเยา ท่านกลับมาเยอรมันด้วยวีซ่า ๓ เดือน เลือกประธานใหม่ย้ายกลับมาเมือง ดอร์ทมูนด์ตามเดิม แต่ท่านก็ไม่สามารถจำพรรษาได้จึงกลับไปจำพรรษาที่ จ.พะเยา ได้ร่วมกับชาวบ้านสร้างวัดดอยห้วยไคร้ มีกุฎีวิหาร ศาลาโรงฉัน ตามกำลังเป็นที่เรียบร้อยดี ในปี ๒๕๔๐ ท่านมาจำพรรษา ที่ เมือง ดอร์ทมูนด์ กระท่อมในป่า Branheidestr18, 44388 Dortmund เยอรมัน จึงได้ทราบว่าการจะขอต่อวีซ่าได้นั้นจะต้องมีที่อยู่อันมั่นคงเป็นของตัวเอง เพราะการที่พระภิกษุหรือบุคคลที่ จะอยู่ได้ต้องมีผู้รับรอง รายได้ที่มั่นคง เพื่อจะได้ไม่รบกวนค่าใช้จ่ายของทางการเยอรมัน ปี ๒๕๔๑ ท่านได้จำพรรษาที่เมือง ดอร์ทมูนด์ Rebhuhnweg 14, 44225 Dortmund วัดป่าอนาลโย จึงเป็นชื่อที่ใช้เริ่มที่นี่ จากการที่ท่านเก็บสะสมปัจจัยไว้ในแต่ละครั้งที่มา จนพอจะมีฐานะจะเช่าบ้านที่เหมาะสมได้ เพราะถ้าไม่รายได้ไม่มั่นคง เจ้าของบ้านคงไม่ สนใจให้เช่า การหาสถานที่อยู่อันเหมาะสมก็ไม่ใช่เรื่องง่ายๆ ออกจากกระท่อมในป่ามาอยู่บ้าน เพื่อให้ได้วีซ่าระยะยาว จะสะดวกในการหาที่เพื่อสร้างวัดต่อไป ปี ๒๕๔๒ ท่านจำพรรษาที่ จ.วัดดอยห้วยไคร้ อ.จุน จ.พะเยา เมื่อท่านมีโอกาสได้นานและพอจะรู้วิธีการสร้างวัดในเยอรมัน จึงช่วยเหลือเพื่อนพระภิกษุที่ต้องการเผยแผ่พระพุทธศาสนาในเยอรมัน โดยนิมนต์ผ่านวัดป่าอนาลโย แล้วส่งไปประจำเมืองต่างๆ เช่น เมือง ฮัมบวร์ก เมือง กีเซ่น เป็นต้น. ในพรรษานี้ หลังจากที่ท่านนิมนต์พระธรรมทูตมาจำ พรรษา ที่วัดป่าอนาลโย เมืองดอร์ทมูนด์ ๒ รูปคือ พระบุญธรรม กิตฺติญาโณ , พระนิพนธ์ ญาณวโร. วัดป่าอตุโล( วัดพุทธบารมี ) เมือง ฮัมบวร์ก ๒ รูปคือ พระครูคุณสารโสภณ, พระมหาวิรัตน์ สุเมธโก. วัดป่าภูริทัตตาราม เมืองกีเซ่น ๑ รูปคือ พระสำรอง ภทฺทิโย ส่วนท่านพระชัชวาลย์ สุภทฺโท กลับไปจำพรรษา ที่ จ.พะเยา วัดดอยห้วยไคร้ อ.จุน จ.พะเยา ปี ๒๕๔๓ ท่านได้จำพรรษา ที่ เมือง ดอร์ทมูนด์ Semerteichstr.26 a, 44141Dortmund  ๒๕ เมษายน ท่านได้รับเมตตาจากพระมหาเถรทั้งหลาย ให้เป็นเจ้าภาพในการจัดมีการประชุมสงฆ์ (ธ) ขึ้นเป็นครั้งแรกในสหภาพยุโรป หลัง จากนั้น เจ้าของบ้านไม่ต่อสัญญาเช่าให้ เนื่องจากต้องการใช้เป็นที่พักของลูกสาว ประกอบกับกำลังได้สถานที่ที่ทางเมืองจะให้สร้างวัด จึงย้ายมาจำพรรษาที่ Semerteichstr.26 a เป็นการชั่วคราว ปี ๒๕๔๔ ท่านได้จำพรรษา ที่ เมือง ดอร์ทมูนด์ Semerteichstr.26 a, 44141 Dortmund ทางเมืองมีหนังสือว่าสถานที่จะให้ก่อสร้างนั้นหลังจากการตรวจสอบแล้วพบว่า ไม่สามารถใช้เป็นที่พักอาศัยได้ เนื่องจากมีสารพิษอยู่ใต้ดิน จึงต้อง หาสถานที่ใหม่ ปี ๒๕๔๕ ท่านจำพรรษา ที่ เมืองดอร์ตมูนด์ Semerteichstr.26 a, 44141 Dortmund ซื้อที่ดิน ที่ เมือง วินเด็ค Im Boden 13, 51570 Windeck Langenberg สำหรับสร้างวัด ๒ แปลง ประมาณ ๑ ไร่ และที่ดินสำหรับบริเวณสวน ๑ แปลง ๒ ไร่ รวมที่ดินทั้งหมดประมาณ ๓ ไร่ ปี ๒๕๔๖ ท่านจำพรรษาที่ เมือง ดอร์ตมูนด์ ๙ ตุลาคม ๒๕๔๖ ทำพิธีวางศิลาฤกษ์ ศาลาเอนกประสงค์ วัดป่าอนาลโย ปี ๒๕๔๗ ท่านจำพรรษาที่ เมือง ดอร์ตมูนด์ Semerteichstr.26 a, 44141 Dortmund ปลายพรรษา เริ่มการก่อสร้างฐานรากตัวอาคาร ๒ ชั้น พื้นที่ใช้สอยประมาณ ๒๘๐ ตรม. ปี ๒๔๔๘ ท่านจำพรรษาที่เมือง วินเด็ก Im Boden 13, 51570 Windeck  ท่านมาจำพรรษาที่วัดบนเขาเพื่อจะได้ดูแล ควบคุมการก่อสร้างให้เรียบร้อย ปี ๒๕๔๙ ท่านจำพรรษาที่ เมือง วินเด็ก Im Boden 13, 51570 Windeck Langenberg ปี ๒๕๕๐ พระธรรมเมธาจารย์ (อิ่ม อรินฺทโม ) วัดโสมนัสราชวรวิหาร ให้ความอนุเคราะห์ เรื่องการจัดงานผูกพัทธสีมา ฝังลูกนิมิต ซึ่งมีขึ้นเป็นแห่งแรกในประเทศสหพันธ์สาธารณรัฐเยอรมนี โดยมีพระพรหมมุนี ( จุนท์ พฺรหฺมคุตฺโต ) วัดบวรนิเวศ เป็นประธาน ปัจจุบันคือ สมเด็จพระวันรัต (จุนท์ พฺรหฺมคุตฺโต) ซึ่งเป็นนิมิตหมายที่ดีว่าการสร้างวัดไทยในประเทศนี้ เริ่มและสำเร็จ โดย พระพรหมมุนี ดังนั้นวัดป่าอนาลโยจึงย้ายจากเมือง Dortmund มาอยู่ เมือง Windeck แต่ด้วยบรรดาลูกศิษย์ท่านที่อยู่เมือง Dortmund ไม่สะดวกที่จะเดินทางมาทำบุญที่เมือง Windeck เพราะระยะทางนั้นห่างกันถึง 120 กิโลเมตร จึงอยากให้ท่านสร้างวัดไว้ที่เมือง Dortmund อีกแห่งเพื่อบรรดาลูกศิษย์ท่านได้มาทำบุญกันท่านจึงได้รวบรวมปัจจัยจนสามารถซื้อบ้านได้และได้สร้างวัดป่าอนาลโยดอร์ทมุนด์ อีกแห่งหนึ่ง ในปี ๒๕๖๐

ติดต่อเรา

ที่อยู่
Wittener Str. 177, 44149 Dortmund  Germany

Tel. +49(0)231 20 69 88 68

Freunde hinzugefügt